วันอาทิตย์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2557

โอกาสทางการศึกษา! ชงรมช.ศธ.เพิ่มเงินอุดหนุนเด็กยากจน 100%

โอกาสทางการศึกษา! ชงรมช.ศธ.เพิ่มเงินอุดหนุนเด็กยากจน 100%


นายกมล รอดคล้าย


นายกมล รอดคล้าย เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ( กพฐ.) เปิดเผยว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ พล.ท.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ได้มอบนโยบายแก่ผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ซึ่งสพฐ.ได้เสนอขอให้สนับสนุนค่าใช้จ่ายหัวโครงการสนับสนุนรายหัวค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาตั้งแต่อนุบาลจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งไม่ใช่การขอเงินรายหัวในรายการปกติที่รัฐจัดสรร แต่เป็นการขอให้จัดสรรเงินอุดหนุนเพิ่มเติมพิเศษ ค่าจัดการเรียนการสอนในรายการค่าสาธารณูปโภค โดยเฉพาะค่าไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นจากการจัดการเรียนการสอนที่ใช้เทคโนโลยี ยิ่งหากเป็นโรงเรียนที่มีขนาดใหญ่ก็จะแบกรับภาระดังกล่าวสูงแม้ สพฐ.จะจัดสรรเงินเพิ่มเติมพิเศษเป็นค่าไฟฟ้าให้ก็ยังไม่เพียงพอ

เลขาธิการกพฐ. กล่าวต่อว่านอจากนี้จะขอเงินอุดหนุนเพิ่มเติมพิเศษให้แก่นักเรียนยากจนครบ 100% ปัจจุบันเด็กไทยมีจำนวนประมาณ 8 ล้านคน แต่ 1 ใน 3 หรือจำนวน 3 ล้านคนมีฐานะยากจน พ่อแม่มีรายได้ไม่เกิน 40,000 บาทต่อปี เฉพาะภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 พบว่า มีนักเรียนยากจนทั้งสิ้น 3,611,153 คน  หากจะสนับสนุนปัจจัยการศึกษาพื้นฐานให้นักเรียนยากจนได้ครบทุกคน 100%  ก็จะต้องใช้งบประมาณทั้งสิ้น 2,706 ล้านบาท

  ที่มา : matichon online ค้นหา วันที่ 29 กันยายน  2557

เสภานางวันทองลาเรือนขุนช้าง


 http://www.youtube.com/watch?v=jcAFmyy6dNI

กลอน

  Klon
 
คัดจาก: หลักภาษาไทย ของ กำชัย ทองหล่อ

กลอน คือลักษณะคำประพันธ์ ที่เรียบเรียงเข้าเป็นคณะ มีสัมผัสกัน ตามลักษณะบัญญัติ เป็นชนิดๆ แต่ไม่มีบังคับ เอกโท และครุลหุ 
กลอนแบ่งออกเป็น ๓ ชนิด คือ กลอนสุภาพ กลอนลำนำ และกลอนตลาด
กลอนสุภาพ คือกลอนที่ใช้ถ้อยคำ และทำนองเรียบๆ แบ่งออกเป็น ๔ ชนิด คือ

๑. กลอน ๖ 
๒. กลอน ๗
๓. กลอน ๘ 
๔. กลอน ๙ กลอนสุภาพ นับว่าเป็นกลอนหลัก เพราะเป็นหลัก ของบรรดากลอนทุกชนิด ถ้าเข้าใจกลอนสุภาพ เป็นอย่างดีแล้ว ก็สามารถจะเข้าใจกลอนอื่นๆ ได้โดยง่าย กลอนอื่นๆ ที่มีชื่อเรียกไปต่างๆ นั้น ล้วนแต่ยักเยื้อง แบบวิธี ไปจากกลอนสุภาพ ซึ่งเป็นกลอนหลัก ทั้งสิ้น 
กลอนลำนำ คือกลอนที่ใช้ขับร้อง หรือสวด ให้มีทำนองต่างๆ แบ่งออกเป็น ๕ ชนิด คือ 
๑. กลอนบทละคร
๒. กลอนสักวา
๓. กลอนเสภา
๔. กลอนดอกสร้อย
๕. กลอนขับร้อง กลอนตลาด คือกลอนผสม หรือกลอนคละ ไม่กำหนดคำตายตัว เหมือนกลอนสุภาพ ในกลอนบทหนึ่ง อาจมีวรรคละ ๗ คำบ้าง ๘ คำบ้าง ๙ คำบ้าง คือเอากลอนสุภาพ หลายชนิด มาผสมกัน นั่นเอง เป็นกลอนที่ นิยมใช้ ในการขับร้องแก้กัน ทั่วๆ ไป จึงเรียกว่า กลอนตลาด แบ่งออกเป็น ๔ ชนิด คือ 
๑. กลอนเพลงยาว
๒. กลอนนิราศ
๓. กลอนนิยาย
๔. กลอนเพลงปฏิพากย์ กลอนเพลงปฏิพากย์ ยังแบ่งออกไปอีกหลายชนิด คือ 
เพลงฉ่อย 
เพลงโคราช หรือเพลงตะวันออก 
เพลงเรือ 
เพลงชาวไร่ 
เพลงชาวนา 
เพลงแห่นาค 
เพลงพิษฐาน (อธิษฐาน) 
เพลงเกี่ยวข้าว 
เพลงปรบไก่ 
เพลงพวงมาลัย 
เพลงรำอีแซว หรือเพลงอีแซว 
เพลงลิเก 
เพลงลำตัด 
ฯลฯ


บทของกลอน
คำกลอนวรรคหนึ่ง เรียกว่า กลอนหนึ่ง สองวรรค หรือสองกลอน เรียกว่า บาทหนึ่ง หรือคำหนึ่ง สองคำ หรือสองบาท หรือสี่วรรค หรือสี่กลอน เรียกว่า บทหนี่ง วรรคทั้งสี่ของกลอน ยังมีชื่อเรียกต่างๆ กัน และนิยมใช้เสียงต่างๆ กันอีก คือ 
๑. กลอนสลับ ได้แก่ กลอนวรรคต้น คำสุดท้าย ใช้คำเต้น คือนอกจากเสียงสามัญ แต่ถ้าจะใช้ ก็ไม่ห้าม 
๒. กลอนรับ ได้แก่ กลอนวรรคที่สอง คำสุดท้าย นิยมใช้ เสียงจัตวา ห้ามใช้เสียงโท, สามัญ, ตรี, และวรรณยุกต์เอกมีรูป วรรณยุกต์เอกไม่มีรูป ไม่ห้าม แต่ต้องให้คำสุดท้าย ของกลอนรอง เป็นเสียงตรี 
๓. กลอนรอง ได้แก่ กลอนวรรคที่สาม คำสุดท้าย นิยมใช้ เสียงสามัญ ห้ามใช้เสียงจัตวา หรือคำที่มีรูปวรรณยุกต์ 
๔. กลอนส่ง ได้แก่ กลอนวรรคที่สี่ คำสุดท้าย นิยมใช้ เสียงสามัญ ห้ามใช้คำตาย และคำที่มีรูปวรรณยุกต์ จะใช้คำตายเสียงตรี บ้างก็ได้  บาทของกลอน
คำกลอนนั้น นับ ๒ วรรคเป็น ๑ บาท ตามธรรมดา กลอนบทหนึ่ง จะต้องมีอย่างน้อย ๒ บาท (เว้นไว้แต่กลอนเพลงยาว หรือกลอนนิราศ ซึ่งนิยมใช้บทแรก ที่ขึ้นต้นเรื่อง เพียง ๓ วรรค) บาทแรก เรียกว่า บาทเอก บาทที่ ๒ เรียกว่า บาทโท คำกลอนจะยาวเท่าไรก็ตาม คงเรียกชื่อว่า บาทเอก บาทโท สลับกันไปจนจบ และต้องจบลง ด้วยบาทโทเสมอ เช่น 
 นิราศเรื่องหัวหินก็สิ้นสุด  เพราะจากบุตรภรรยามากำสรวล (บาทเอก)
 เมื่ออยู่เดียวเปลี่ยวกายใจคร่ำครวญ  ก็ชักชวนให้คิดประดิษฐ์กลอน (บาทโท)
 ใช้ชำนาญการกวีเช่นศรีปราชญ์  เขียนนิราศก็เพราะรักเชิงอักษร (บาทเอก)
 บันทึกเรื่องที่เห็นเป็นตอนตอน  ให้สมรมิตรอ่านเป็นขวัญตา (บาทโท)
 มิใช่สารคดีมีประโยชน์  จึงมีโอดมีครวญรัญจวนหา (บาทเอก)
 ตามแบบแผนบรรพกาลโบราณมา  เป็นสาราเรื่องพรากจากอนงค์ (บาทโท)
-จากนิราศหัวหิน-
หลักนิยมทั่วไปของกลอน
๑. คำสุดท้ายของวรรคที่ ๑ และวรรคที่ ๒ ก็ดี คำสุดท้ายของวรรคที่ ๓ และวรรคที่ ๔ ก็ดี ไม่ควรใช้คำ ที่มีเสียงเหมือนกัน หรือคำที่ใช้สระ และตัวสะกด ในมาตราเดียวกัน เช่น 
ก. ในไพรสณฑ์พรั่งพรึบด้วยพฤกษา  แนววนาน่ารักด้วยปักษา
ข. เขาเดินทุ่งมุ่งลัดตัดมรรคา  มั่นหมายมาเพื่อยับยั้งเคหา
ค. เห็นนกน้อยแนบคู่คิดถึงน้อง  มันจับจ้องมองตรงส่งเสียงร้อง ๒. คำที่รับสัมผัส ในวรรคที่ ๒ และที่ ๔ ควรให้ตำแหน่งสัมผัส ตกอยู่ที่พยางค์สุดท้าย ของคำ ไม่ควรให้สัมผัสลงที่ต้นคำ หรือกลางคำ ยิ่งเป็นกลอนขับร้อง ยิ่งต้องระวังเป็นพิเศษ เพราะจะทำให้เสียความ ในเวลาขับร้อง เช่น 
สดับถ้อยสุนทรนอนดำริ จนสุริยาแจ้งแจ่มเวหา  ๓. คำสุดท้ายของวรรค ควรใช้คำเต็ม ไม่ควรใช้ครึ่งคำ หรือยัติภังค์ เว้นไว้แต่ แต่งเป็น กลบทยัติภังค์ หรือเป็น โคลง, ฉันท์ และกาพย์ เช่น 
อันถ้อยคำของท่านนั้นเป็นสา  มานย์วาจาฟังไปไม่เกิดหรร 
ษารมณ์เลยสักนิดเพราะผิดจรร  ยาทั้งนั้นไร้ศีลฉันสิ้นอา(วรณ์) 
การแยกคำออกใช้คนละครึ่ง ในระหว่างวรรค เช่นนี้ไม่ควรใช้ ๔. ไม่ควรใช้ภาษาอื่น ที่ยังมิได้รับรอง มาใช้เป็นส่วนหนึ่ง แห่งภาษาไทย เช่น 
โอไมเดียร ดาริ่งมิ่งสมร   บิวตี้ฟูลสุนทรหฤหรรษ์ 
แม่ชื่นจิตสวิตฮารตจะคลาดกัน   ใจป่วนปั่นหันเหเซกู๊ดบาย 
ส่วนคำบาลี และสันสกฤตใช้ได้ เพราะเรารับมาใช้ เป็นส่วนหนึ่ง แห่งภาษาไทย แต่ถึงกระนั้น ก็ต้องแปลงรูปคำเสียก่อน จะนำมาใช้ทั้งดุ้นไม่ได้  ๕. ไม่ควรใช้ "ภาษาแสลงโสต" คือถ้อยคำที่พูดด้วยความตลกคะนอง หยาบโลน หรือเปรียบเทียบ กับของหยาบ ซึ่งใช้กันอยู่ ในกลุ่มคนส่วนน้อย และรู้กัน แต่เฉพาะในวงแคบๆ เช่น คำว่า ม่องเท่ง, จำหนับ, จ้ำบ๊ะ, ตั้กฉึ้ก, ถังแตก, ยกล้อ ฯลฯ

กาพย์

  Kaap

คัดจาก: หลักภาษาไทย ของ กำชัย ทองหล่อ
 

กาพย์ คือคำประพันธ์ชนิดหนึ่งซึ่งมีกำหนดคณะ พยางค์ และสัมผัส มีลักษณะคล้ายกับฉันท์ แต่ไม่นิยม ครุ ลหุ เหมือนกับฉันท์
กาพย์ แปลตามรูปศัพท์ว่า เหล่ากอแห่งกวี หรือ ประกอบด้วย คุณแห่งกวี หรือ คำที่กวี ได้ร้อยกรองไว้
กาพย์มาจากคำว่า กาวฺย หรือ กาพฺย และคำ กาวฺย หรือ กาพฺย มาจากคำ กวี กวีออกมาจากคำเดิม ในภาษาบาลี และสันสกฤต กวิ แปลว่า ผู้คงแก่เรียน ผู้เฉลียวฉลาด ผู้มีปัญญาเปรื่องปราด ผู้ประพันธ์กาพย์กลอน และแปลอย่างอื่น ได้อีก
คำ กวิ หรือ กวี มาจากรากศัพท์เดิม คือ กุธาตุ แปลว่า เสียง ว่าทำให้เกิดเสียง ว่าร้อง ว่าร้องระงม ว่าคราง ว่าร้องเหมือนเสียงนก หรือเสียงแมลงผึ้ง
กาพย์ ตามความหมายเดิม มีความหมายกว้างกว่าที่เข้าใจกัน ในภาษาไทย คือ บรรดาบทนิพนธ์ ที่กวีได้ ร้อยกรองขึ้น ไม่ว่าจะเป็น โคลง ฉันท์ กาพย์ หรือ ร่าย นับว่าเป็นกาพย์ ทั้งนั้น แต่ไทยเรา หมายความ แคบ หรือหมายความถึง คำประพันธ์ชนิดหนึ่ง ของกวีเท่านั้น
กาพย์มีลักษณะผิดกับกลอนธรรมดา คือ


๑. วางคณะ พยางค์ และสัมผัสคล้ายกับฉันท์
๒. ใช้แต่งปนกับฉันท์ได้ และคงเรียกว่า "คำฉันท์" เหมือนกัน กาพย์ที่นิยมใช้อยู่ในภาษาไทย มี ๕ ชนิด คือ
๑. กาพย์ยานี
๒. กาพย์ฉบัง
๓. กาพย์สุรางคนางค์
๔. กาพย์ห่อโคลง
๕. กาพย์ขับไม้ห่อโคลง กาพย์ ๓ ชนิดข้างต้น ใช้เทียบเคียง แต่งปนไปกับฉันท์ได้ และเพราะเหตุที่ มีลักษณะคล้ายกับฉันท์ และแต่งปนไปกับฉันท์ได้ จึงเรียกว่า คำฉันท์ด้วย


๑. กาพย์ยานี ๑๑ kaapyaanii 11

ตัวอย่าง:  


ตัวอย่าง:  


๒. กาพย์ฉบัง ๑๖ kaap chabang 16

ตัวอย่าง:  


๓. กาพย์สุรางคนางค์ kaap suraangkhanaang
กาพย์สุรางคนางค์ มีอยู่ ๒ ชนิด คือ กาพย์สุรางคนางค์ ๒๘ และ กาพย์สุรางคนางค์ ๓๒ ดังมีลักษณะต่อไปนี้ ๓.๑ กาพย์สุรางคนางค์ ๒๘ kaapsuraangkhanaang 28

ตัวอย่าง:  



ตัวอย่าง:  


ตัวอย่าง:  


๓.๒ กาพย์สุรางคนางค์ ๓๒ kaapsuraangkhanaang 32

ตัวอย่าง:  


๔. กาพย์ห่อโคลง
กาพย์ห่อโคลง เป็นชื่อของบทประพันธ์ ที่แต่งขึ้น โดยใช้กาพย์ยานี สลับกับ โคลงสี่สุภาพ กาพย์ยานี กับ โคลงสี่สุภาพนั้น จะต้องมีความอย่างเดียวกัน คือให้วรรคที่หนึ่ง ของกาพย์ยานี กับบาทที่หนึ่ง ของโคลงสี่สุภาพ บรรยายข้อความ อย่างเดียวกัน หรือบางที ก็ให้คำต้นวรรค ของกาพย์ กับคำต้นบท ของโคลง เป็นคำเหมือนกัน ส่วนบัญญัติ หรือกฏข้อบังคับต่างๆ เหมือนกับ กฏของกาพย์ยานี และโคลงสี่สุภาพ ทั้งสิ้น ลักษณะการแต่งกาพย์ห่อโคลง แบ่งออกได้เป็น ๓ ชนิด คือ
๑.แต่งกาพย์ยานีหนึ่งบท แล้วแต่งโคลงสี่สุภาพ ซึ่งมีเนื้อความเช่นเดียว กับกาพย์ยานี หนึ่งบท สลับกันไป ชนิดนี้ มักแต่งเป็นเรื่องสั้นๆ เป็นเชิงประกวดฝีปาก หรือสำนวน อย่างแต่งโคลงกระทู้ หรือกลอนกลบท ดังตัวอย่าง เช่น
  

๒.เหมือนชนิดที่ ๑ แต่กลับกันคือเอาโคลงไว้หน้า เอากาพย์ไว้หลังเรียงสลับกันไป
๓.แต่งโคลงบทหนึ่ง แล้วแต่งกาพย์ พรรณาข้อความยืดยาว จนสุดกระแสความ ตามจุใจ จะแต่งกาพย์ ยาวสักกี่บท ก็ได้ แต่ต้องให้บทต้น มีเนื้อความ เช่นเดียวกับโคลง ส่วนบทต่อๆ ไป จะขยายความรำพัน ให้พิศดารอย่างไรก็ได้ ชนิดที่ ๓ นี้ มักนิยมแต่ง เป็นบทเห่เรือ จึงเรียกชื่อ อีกอย่างหนึ่งว่า กาพย์เห่เรือ ตัวอย่างเช่น
 

 

๕. กาพย์ขับไม้ห่อโคลง kaap khapmayh@@khloong


ตัวอย่าง:  



ฉันท์

  Chan
 

คัดจาก: หลักภาษาไทย ของ กำชัย ทองหล่อ

ฉันท์ คือลักษณะถ้อยคำ ที่กวีได้ร้อยกรองขึ้น ไห้เกิดความไพเราะ ซาบซึ้ง โดยกำหนดคณะ ครุลหุ และสัมผัสไว้ เป็นมาตรฐาน
ฉันท์นี้ไทยได้ถ่ายแบบมาจากอินเดีย ของเดิมแต่งเป็นภาษาบาลี และสันสกฤต โดยเฉพาะในภาษาบาลี เขามีตำราที่กล่าวถึง วิธีแต่งฉันท์ไว้ เป็นแบบฉบับ เรียกชื่อว่า "คัมภีร์วุตโตทัย" แล้วต่อมาไทยเราได้จำลองแบบ มาแต่งในภาษาไทย โดยเพิ่มเติม บังคับสัมผัสขึ้น เพื่อให้เกิดความไพเราะ ตามแบบนิยมของไทย ซึ่งในภาษาเดิมของเขา หามีไม่
ฉันท์ในภาษาบาลี แบ่งออกเป็น ๒ ชนิด คือ ฉันท์วรรณพฤติ กับฉันท์มาตราพฤติ
ฉันท์ใด กำหนดด้วยตัวอักษร คือ วางคณะ และกำหนดเสียงหนักเบา ที่เรียกว่า ครุลหุ เป็นสำคัญ ฉันท์นั้นเรียกว่า วรรณพฤติ
ฉันท์ใด กำหนดด้วยมาตรา คือ วางจังหวะสั้นยาว ของมาตราเสียง เป็นสำคัญ นับคำลหุเป็น ๑ มาตรา คำครุ นับเป็น ๒ มาตรา ไม่กำหนดตัวอักษร เหมือนอย่างวรรณพฤติ ฉันท์นั้นเรียกว่า มาตราพฤติ
ฉันท์มีชื่อต่างๆตามที่ปรากฏในคัมภีร์วุตโตทัยมีถึง ๑๐๘ ฉันท์ แต่ไทยเราดัดแปลง เอามาใช้ไม่หมด เลือกเอามาแต่เฉพาะที่เห็นว่าไพเราะ มีทำนองอ่านสละสลวย และเหมาะแก่การที่จะบรรจุคำในภาษาไทยได้ดี เท่านั้น
ฉันท์ที่นิยมแต่งในภาษาไทย เป็นฉันท์วรรณพฤติเป็นพื้น ที่เป็นมาตราพฤติ ไม่ใคร่จะนิยมแต่ง เพราะจังหวะ และทำนองที่อ่านในภาษาไทย ไม่สู้จะไพเราะ เหมือนฉันท์วรรณพฤติ แม้ฉันท์วรรณพฤติ ที่ท่านแปลงมาเป็นแบบในภาษาไทยแล้ว ก็ไม่นิยมแต่งกันทั้งหมด เท่าที่สังเกตดู ในคำฉันท์เก่าๆ มักนิยมแต่งกันอยู่เพียง ๖ ฉันท์เท่านั้น คือ

- อินทรวิเชียรฉันท์
- โตฎกฉันท์
- วสันตดิลกฉันท์
- มาลินีฉันท์
- สัททุลวิกกีฬิตฉันท์
- สัทธราฉันท์ แต่ท่านมักแต่งกาพย์ฉบัง และกาพย์สุรางคนางค์ ปนไปกับฉันท์ด้วย และคงเรียกว่า คำฉันท์เหมือนกัน
เหตุที่โบราณนิยมแต่งเฉพาะ ๖ ฉันท์ คงเป็นเพราะฉันท์ทั้ง ๖ นั้น สามารถจะแต่งเป็นภาษาไทยได้ไพเราะกว่าฉันท์อื่นๆ และท่านมักนิยมเลือกฉันท์ ให้เหมาะกับบทของท้องเรื่อง เป็นตอนๆ เช่น
บทไหว้ครู นิยมใช้ สัททุลวิกกีฬิตฉันท์ หรือ สัทธราฉันท์
บทชมหรือบทคร่ำครวญ นิยมใช้ อินทรวิเชียรฉันท์ หรือ วสันตดิลกฉันท์
บทสำแดงอิทธิฤทธิ์หรืออัศจรรย์ นิยมใช้ โตฎกฉันท์ (แต่คำฉันท์เก่าๆไม่ใคร่นิยมใช้ โตฎกฉันท์)
บทดำเนินความยาวๆ ในท้องเรื่อง นิยมใช้ กาพย์ฉบัง หรือ กาพย์สุรางคนางค์ ในปัจจุบันนี้นิยมแต่งภุชงคประยาตฉันท์ เพิ่มขึ้นอีกฉันหนึ่ง และมักใช้แต่ง ในตอนพรรณนาโวหารหรือ ข้อความที่น่าตื่นเต้น
การแต่งฉันท์ ต้องบรรจุคำให้ครบ ตามจำนวนที่บ่งไว้ จะบรรจุคำให้เกินกว่ากำหนด เหมือนการแต่ง โคลง กลอน และกาพย์ ไม่ได้ เว้นไว้แต่อักษรนำ อนุญาตให้เกินได้บ้าง แต่บัดนี้ ไม่ใคร่นิยมแล้ว คำใดที่กำหนดไว้ว่า เป็นครุและลหุ จะต้องเป็น ครุและลหุจริงๆ และเป็นได้ แต่เฉพาะ ตรงที่บ่งไว้ เท่านั้น จะใช้ครุและลหุ ผิดที่ไม่ได้ คำ บ ก็ดี คำที่ประสมด้วย สระอำ ในแม่ ก กา ก็ดี ใช้เป็นลหุได้ แต่บัดนี้คำที่ประสมด้วยสระอำ ไม่ใคร่นิยมใช้ เพราะถือว่า เป็นเสียงที่มีตัวสะกดแฝงอยู่ด้วย
ฉันท์ทั้ง ๒๕ ชนิด มีชื่อ และลักษณะต่างๆ กัน ดังจะได้อธิบาย ต่อไปนี้
๑.จิตรปทาฉันท์ ๘
๒. วิชชุมาลาฉันท์ ๘
๓. มาณวกฉันท์ ๘
๔. ปมาณิกฉันท์ ๘
๕. อุปัฏฐิตาฉันท์ ๑๑
๖. อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑
๗. อุเปนทรวิเชียรฉันท์ ๑๑
๘. อุปชาติฉันท์ ๑๑
๙. สาลินีฉันท์ ๑๑
๑๐. อาขยานิกาฉันท์ ๑๑
๑๑. วังสัฏฐฉันท์ ๑๒
๑๒. อินทวงสฉันท์ ๑๒
๑๓. โตฎกฉันท์ ๑๒
๑๔. ภุชงคประยาตฉันท์ ๑๒
๑๕. กมลฉันท์ ๑๒
๑๖. วสันตดิลกฉันท์ ๑๔
๑๗. มาลินีฉันท์ ๑๕
๑๘. ประภัททกฉันท์ ๑๕
๑๙. วาณินีฉันท์ ๑๖
๒๐. กุสุมิตลดาเวลลิตาฉันท์ ๑๘
๒๑. เมฆวิปผุชชิตาฉันท์ ๑๙
๒๒. สัททุลวิกกีฬิตฉันท์ ๑๙
๒๓. อีทิสฉันท์ ๒๐
๒๔. สัทธราฉันท์ ๒๑

๑. จิตรปทาฉันท์ ๘ cittapathaachan 8

ตัวอย่าง:


๒. วิชชุมาลาฉันท์ ๘ witchumaalaachan 8

ตัวอย่าง:



๓. มาณวกฉันท์ ๘ maanawakkachan 8

ตัวอย่าง:


๔. ปมาณิกฉันท์ ๘ pamanikkachan 8

ตัวอย่าง:


๕. อุปัฏฐิตาฉันท์ ๑๑ upatthitaachan 11

ตัวอย่าง:


๖. อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑ intharawichianchan 11

ตัวอย่าง:


๗. อุเปนทรวิเชียรฉันท์ ๑๑ upeenthrawichianchan 11

ตัวอย่าง:


๘. อุปชาติฉันท์ ๑๑ upachaatchan 11

ตัวอย่าง:


๙. สาลินีฉันท์ ๑๑ saaliniichan 11

ตัวอย่าง:


๑๐. อาขยานิกาฉันท์ ๑๑ akhayaattachan 11

ตัวอย่าง:


๑๑. วังสัฏฐฉันท์ ๑๒ wangsatthachan 12

ตัวอย่าง:


๑๒. อินทวงสฉันท์ ๑๒ inthawongchan 12

ตัวอย่าง:


๑๓. โตฎกฉันท์ ๑๒ toodokkachan 12

ตัวอย่าง:


๑๔. ภุชงคประยาตฉันท์ ๑๒ phuchongkhapayaatchan 12

ตัวอย่าง:


๑๕. กมลฉันท์ ๑๒ kammalachan 12

ตัวอย่าง:


๑๖. วสันตดิลกฉันท์ ๑๔ wasantadilokchan 14

ตัวอย่าง:


๑๗. มาลินีฉันท์ ๑๕ maaliniichan 15

ตัวอย่าง:


๑๘. ประภัททกฉันท์ ๑๕ prapatthakachan 15

ตัวอย่าง:


๑๙. วาณินีฉันท์ ๑๖ waniniichan 16

ตัวอย่าง:


๒๐. กุสุมิตลดาเวลลิตาฉันท์ ๑๘ kusumittaladawellitachan 18

ตัวอย่าง:


๒๑. เมฆวิปผุชชิตาฉันท์ ๑๙ mekkhawipaphutchitachan 19

ตัวอย่าง:


๒๒. สัททุลวิกกีฬิตฉันท์ ๑๙ satthunlawikkiilitachan 19

ตัวอย่าง:
 
 

๒๓. อีทิสฉันท์ ๒๐ iithisachan 20

ตัวอย่าง:



๒๔. สัทธราฉันท์ ๒๑ satthraachan 21

ตัวอย่าง: