วันอาทิตย์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2557

โคลง

  Khloong
คัดจาก: หลักภาษาไทย ของ กำชัย ทองหล่อ
 
โคลง คือคำประพันธ์ชนิดหนึ่ง ซึ่งมีวิธีเรียบเรียงถ้อยคำ เข้าคณะ มีกำหนดเอกโท และสัมผัส แต่มิไดบัญญัติ บังคับ ครุลหุ โคลงแบ่งออกเป็น ๓ ชนิด คือ โคลงสุภาพ โคลงดั้น และโคลงโบราณ
โคลงสุภาพ แบ่งออกเป็น ๗ ชนิด คือ 
๑. โคลง ๒ สุภาพ 
๒. โคลง ๓ สุภาพ 
๓. โคลง ๔ สุภาพ 
๔. โคลง ๔ ตรีพิธพรรณ 
๕. โคลง ๕ หรือมณฑกคติ (ปัจจุบันไม่นิยมแต่งกันแล้ว)
๖. โคลง ๔ จัตวาทัณฑี
๗. โคลงกระทู้ โคลงดั้น แบ่งออกเป็น ๖ ชนิด คือ
๑. โคลง ๒ ดั้น 
๒. โคลง ๓ ดั้น 
๓. โคลงดั้นวิวิธมาลี
๔. โคลงดั้นบาทกุญชร 
๕. โคลงดั้นตรีพิธพรรณ 
๖. โคลงดั้นจัตวาทัณฑี โคลงโบราณ มีลักษณะคล้ายโคลงดั้นวิวิธมาลี แต่ไม่บังคับเอกโท มีบังคับแต่เพียงสัมผัสเท่านั้น เป็นโคลงที่ไทยเรา แปลงมาจากกาพย์ ในภาษาบาลี อันมีชื่อว่า คัมภีร์กาพยสารวิลาสินี ซึ่งว่าด้วยวิธีแต่งกาพย์ต่างๆ มีอยู่ ๑๕ กาพย์ด้วยกัน แต่มีลักษณะเป็นโคลงอย่างแบบไทยอยู่ ๘ ชนิด เพราะเหตุที่ไม่มีบังคับเอกโท จึงเรียกว่า โคลงโบราณ นอกนั้น มีลักษณะเป็นกาพย์แท้
แบ่งออกเป็น ๘ ชนิด คือ
๑. โคลงวิชชุมาลี
๒. โคลงมหาวิชชุมาลี
๓. โคลงจิตรลดา 
๔. โคลงมหาจิตรลดา 
๕. โคลงสินธุมาลี 
๖. โคลงมหาสินธุมาลี
๗. โคลงนันททายี
๘. โคลงมหานันททายี
ข้อบังคับ หรือบัญญัติของโคลง
การแต่งโคลง จะต้องมีลักษณะบังคับ หรือบัญญัติ ๖ อย่าง คือ
๑. คณะ 
๒. พยางค์ 
๓. สัมผัส 
๔. เอกโท 
๕. คำเป็นคำตาย 
๖. คำสร้อย คำสุภาพในโคลงนั้น มีความหมายเป็น ๒ อย่าง คือ 
๑.หมายถึง คำที่ไม่มีเครื่องหมาย วรรณยุกต์เอกโท 
๒.หมายถึง การบังคับคณะ และสัมผัส อย่างเรียบๆ ไม่โลดโผน ฉะนั้น คำสุภาพใน ฉันทลักษณ์ จึงผิดกับคำสุภาพใน วจีวิภาค เพราะในวจีวิภาค หมายถึง คำพูดที่เรียบร้อย ไม่หยาบโลน ไม่เปรียบเทียบ กับของหยาบ หรือไม่เป็นคำ ที่มีสำเนียง และสำนวนผวนมา เป็นคำหยาบ ซึ่งนับอยู่ในประเภทราชาศัพท์ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น